อากาศ คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

by Darrell Miller
2.2K views
อากาศคืออะไร

อากาศ คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบ

เมื่อพูดถึงอากาศทุกคนคงรู้ว่าเราไม่สามารถขาดอากาศได้หากขาดอากาศอาจทำให้เสียชีวิตได้และคงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่ต้องการอากาศแต่เรารู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้วอากาศคืออะไรต้องมีมากน้อยขนาดไหนถึงจะพอดีกับการใช้ชีวิต

อากาศคืออะไร

อากาศ คือ แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้ ซึ่งหากไม่มีอากาศสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งอากาศมีอยู่รอบๆ ตัวเรา 

มลพิษทางอากาศหมายถึงภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์สัตว์พืชหรือทรัพย์สินซึ่งสามารถเกิดได้จาก 

  • เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด ไฟไหม้ป่า 
  • เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น มลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม การเผาป่า หรือขยะมูลฝอยและของเสียต่างๆ 

ซึ่งมลพิษทางอากาศไม่ว่าจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ย่อมส่งผลเสียต่อคน สัตว์ พืช แต่จะมากหรือน้อยอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง

 

อากาศมีประโยชน์อย่างไร

 

อากาศมีประโยชน์อย่างไร

เมื่อพูดถึงอากาศ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกคนบนโลกใบนี้ หรือแม้แต่สัตว์ พืช ล้วนต้องการอากาศเพราะอากาศ ทำให้เราสามารถมีชิวิตอยู่ได้ หากขาดน้ำ ขาดอาหาร เรายังสามารถมีชีวิตได้ แต่หากขาดอากาศเมื่อไหร่ เราอาจตายทันที ซึ่งประโยชน์ของอากาศ มีอยู่มากมาย ดังนี้

  • ช่วยปรับอุณหภูมิโลก
  • ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีอนุภาคต่างๆ
  • ใช้ในการหายใจของมนุษย์ สัตว์ และพืช
  • ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
  • ใช้ในการคมนาคมและการสื่อสาร
  • อากาศและส่วนประกอบต่างๆ ของอากาศทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ
  • อากาศช่วยทำให้เกิดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง

จากประโยชน์ของอากาศที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่ามีมากมาย ทำให้ในบางครั้งการทำงานที่ขาดอากาศ ต้องมีการเติมอากาศเข้าไป เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย เช่น งานที่อับอากาศ เป็นต้น

 

ปริมาณออกซิเจนแค่ไหนเรียกอากาศอันตราย

 

ปริมาณออกซิเจนแค่ไหนคืออากาศอันตราย

โดยปกติแล้ว อากาศที่คนเราหายใจเข้าไป จะประกอบด้วยออกซิเจนประมาณ 21% ไนโตรเจนประมาณ 79% และปริมาณออกซิเจนที่มีความเหมาะสมทำให้คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้จะต้องมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 19.5 – 23.5% แต่ถ้าออกซิเจนในอากาศลดลงเหลือ 15 – 17% จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกิดขึ้น นั่นคือภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ทำให้มีอาการรู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายจลำบาก หายใจถี่ขึ้น หัวใจเต้นเร็ว มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น  และหากปริมาณออกซิเจนอยู่ในช่วง 12 – 15% ถือว่ามีความเสี่ยงต่อร่างกาย และถ้าเหลือ 12% ถือว่าอันตราย ถ้าต่ำลงถึง 8% จะเสียชิวิตได้ภายใน 8 นาที

 

ที่อับอากาศคืออะไร

 

ที่อับอากาศคืออะไร

“ที่อับอากาศ” (Confine Space) หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับเป็น สถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และมีสภาพอันตรายหรือมีบรรยากาศอันตราย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

“บรรยากาศอันตราย” หมายความว่าสภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

  • มีปริมาณออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5 โดยปริมาตร 
  • มีก๊าซ ไอ หรือละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (lower flammable limit หรือ lower explosive limit)
  • มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นต่ำสุดของฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้แต่ละชนิด (minimum explosible concentration)
  • มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
  • สภาวะอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่อธิบดีประกาศกำหนด 

จากนิยามของที่อับอากาศและบรรยากาศอันตราย ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ.2562 แสดงให้เห็นว่า ปริมาณออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5 มีความเป็นอันตรายซึ่งตรงกับหัวข้อที่ 3

ปริมาณออกซิเจนแค่ไหนถึงอันตราย ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำงานในที่อับอากาศ

การทำงานในที่อับอากาศผู้ปฏิบัติงานจะต้องผ่านการอบรมที่อับอากาศเพื่อที่จะสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย อากาศที่อันตรายได้เช่นกันหากออกซิเจนลดลงต่ำกว่าหรือเพิ่มมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น ปริมาณอากาศควรจะอยู่ที่ 20.9% ถึงจะปลอดภัย

สรุป

อากาศประกอบด้วยออกซิเจนประมาณ 21% ไนโตรเจนประมาณ 79% และอากาศที่ทำให้เราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ จะต้องมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 19.5 – 23.5 % ซึ่งหากน้อยหรือมากกว่านี้ จะทำให้เป็นบรรยากาศที่อันตราย ซึ่งหากเราใช้ชีวิตปกติ อาจไม่พบเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ที่อาจพบเจอกับบรรยากาศอันตรายหรืออากาศอันตราย เช่น ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ คนที่เข้าไปในถ้ำลึก หรือขึ้นเขาสูงๆ เป็นต้น

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

แหล่งรวบรวมความรู้ด้านการทำงานให้เกิดความปลอดภัย เน้นในการนำเสนอข้อมูลที่ครอบคลุมทุกแง่มุมและอัปเดตให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ติดต่อ

Copyright @2023  All Right Reserved – Designed and Developed by viralebookexplosion