จป. มีกี่ระดับ หากสนใจอบรม จป.ออนไลน์ จะเริ่มต้นอย่างไร
หลายๆ ท่าน เมื่อทำงานไปได้สักระยะแล้วเกิดเปลี่ยนความคิด บางคนก็อยากทำงานในสาย จป. แต่น่าเสียดาย ที่ไม่ได้เรียนจบด้านนี้มา และเกิดคำถามว่า ถ้าไม่ได้เรียนจบ จป. โดยตรงสามารถเป็น จป. ได้หรือไม่ … วันนี้เรามีคำตอบ มาตอบกันให้หายคาใจค่ะ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือ จป. มีความสำคัญต่อการประกอบกิจการหลายชนิด เพราะต้องดูแลความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในสถานประกอบการให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้กิจการต่างๆ ต้องมี จป. ถึงแม้ปัจจุบันนี้จะมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องที่เรียนจบแล้วมาเป็น จป. ได้เลย แต่อาชีพนี้ก็ยังค่อนข้างขาดแคลน สำหรับใครที่สนใจอยากประกอบอาชีพนี้แต่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาในระดับหรือหลักสูตรที่ตรงตามความต้องการมา สามารถเริ่มต้นได้ไม่ยากด้วยการ อบรม จป. แต่ จป. มีกี่ประเภท ประเภทไหนบ้างที่สามารถอบรมก็เป็น จป. ได้ มาดูกัน
ประเภทของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ความเหมือนคือทุกประเภทจะต้องได้รับการแต่งตั้ง แต่ความต่างก็มีมากมาย ส่วนใหญ่สามารถอบรมแล้วก็เป็น จป.ได้ แต่บางประเภทก็ไม่ได้ มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
- เจ้าหน้าความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน พนักงานระดับหัวหน้าในองค์กรทุกคนจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างานด้วย อย่างไรก็ตามก็ต้องผ่านการอบรมก่อน
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร ไม่ต่างจากประเภทแรกมากนัก ต้องอบรมเหมือนกัน เพียงแต่จะเป็น จป.ระดับบริหาร ก็ต้องมีตำแหน่งหน้าที่สูงกว่าหัวหน้างาน
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิค หมายถึง จป.ระดับหัวหน้า ที่ต้องไปอบรม จป.เทคนิค เพิ่มเติม เป็นประเภทที่ต้องการในองค์กรที่มีพนักงาน 20 คนแต่ไม่เกิน 50 คน
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคขั้นสูง พบได้ในสถานประกอบการที่มีพนักงาน 50 คนแต่ไม่เกิน 100 คน จป. ระดับนี้ยังสามารถเป็นได้ด้วยการอบรม แต่จะยากกว่าระดับอื่นมาก เพราะต้องเรียนจบอย่างน้อยหรือเทียบเท่าประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงหรืออนุปริญญา จากนั้นก็ไปอบรมและเข้ารับการทดสอบระดับความรู้ที่มีการแบ่งเป็นหมวด การเป็น ป.เทคนิคขั้นสูง ได้นั้นจะต้องสอบผ่านทุกหมวด ซึ่งผู้สอบผ่านในแต่ละครั้งมีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ เป็น จป.ระดับเดียวที่ไม่สามารถเป็นได้ด้วยการอบรม จป.วิชาชีพ ใครอยากเป็นต้องสำเร็จการศึกษาในระดับ จากหลักสูตรและจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองเท่านั้น
ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานฯ พ.ศ. 2549 กำหนดที่มาและคุณสมบัติของ จป. ระดับต่างๆ ดังนี้
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
มาจากการที่นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างระดับหัวหน้างานและมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
- เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
มาจากการที่นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างระดับบริหารทุกคนและมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
- เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31มีนาคม พ.ศ. 2540 และในกรณีที่ไม่มีลูกจ้างระดับบริหาร ให้นายจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
มาจากการที่นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างคนหนึ่งและมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
- เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน และผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
- เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง
มาจากการที่นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างคนหนึ่งและมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง อนุปริญญา หรือเทียบเท่า และผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่า และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคหรือระดับพื้นฐานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
มาจากการที่นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างอย่างน้อยหนึ่งคนและมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรอง
- เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 และผ่านการอบรมเพิ่มและทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรองในหลักสูตร ทั้งนี้ ภายในห้าปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ
สรุป
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯ (จป.) 4 จาก 5 ระดับสามารถอบรมเพื่อประกอบอาชีพ จป. ได้ โดยจะอบรมในสถานที่จริงหรือจะอบรม จป.ออนไลน์ ก็ได้เช่นเดียวกัน ยกเว้นแต่ ป.วิชาชีพ เพียงระดับเดียวนั้น ที่มีการกำหนดคุณสมบัติเข้มข้นมาก สาเหตุก็เพราะว่าหน้าที่ความรับผิดชอบมีความเฉพาะทางมากกว่า ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจที่ลึกกว่า จป. ระดับอื่นดังนั้นใครอยากเป็น จป.วิชาชีพ เส้นทางอาชีพที่ตรงไปตรงมามากที่สุด คือ การเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยเรียนในสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เมื่อสำเร็จการศึกมาแล้วสามารถไปสมัครงานได้เลยโดยไม่ต้องเข้ารับการอบรม
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว ก็ไม่ได้ยากเกินไป สำหรับท่านที่ต้องการเปลี่ยนสายงาน หันมาเดินทางบนสาย จป. ดูบ้าง ตอนนี้กฎหมายใหม่ออกมาแล้วเกี่ยวกับ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากรหน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการพ.ศ. 2565 ต้องรอดูว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่กันต่อไป