439
หากจะตรวจเครน สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบเครน มีอะไรบ้าง
- การตรวจสอบเครน หรือ การตรวจเครน และปั้นจั่น คือ การที่ผู้รับเหมา หรือผู้ว่าจ้าง จัดให้มีการตรวจเช็กสภาพความปลอดภัย ความเรียบร้อย สภาพการใช้งานของเครน ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้พื้นที่ปฏิบัติงานของผู้รับเหมามีความปลอดภัยทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับเหมา ลูกจ้าง รวมไปถึงทำให้งานที่ทำออกมามีประสิทธิภาพอีกด้วย
- ดังนั้น สำหรับผู้รับเหมาตรวจเครนที่กำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจเครน หรืออยากทราบว่าการตรวจเครนนั้นมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง วันนี้เราได้สรุปและรวบรวมสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบเครนไว้แบบครบถ้วน อ่านบทความนี้จบ คุณจะเข้าใจการตรวจเครนมากขึ้นอย่างแน่นอน
ตรวจสอบเครน ไม่ใช่ใครก็ทำได้
- ผู้รับเหมามือใหม่หลายๆ คนยังมีความเข้าใจผิดว่า การ ตรวจสอบเครน ทำเองก็ได้ ไม่ต้องเสียเงินจ้างก็ได้ แต่ความจริงแล้วการตรวจสอบเครนนั้นจะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และจะต้องเป็นผู้ให้บริการด้านการ ตรวจเครน ที่ได้รับใบอนุญาตด้านการทดสอบเครื่องจักรในอุตสาหกรรมชนิดปั้นจั่น ตามกฎหมายกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร 2564
- และผู้ที่รับหน้าที่ในการตรวจเครน จะต้องเป็นวิศวกรเครื่องกล ระดับภาคีขึ้นไป นอกจากนี้ยังจะต้องมีใบ กว. หรือที่เรียกว่า ใบอนุญาตเพื่อประกอบอาชีพวิศวกร ซึ่งออกโดยสภาวิศวกร
- ดังนั้น สำหรับใครที่สนใจอยากจะเริ่ม ตรวจสอบเครน ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีใบอนุญาตด้านการตรวจสอบเครนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และอย่าลืมตรวจสอบวันหมดอายุของใบอนุญาต
กฎหมายการ ตรวจสอบเครน
กฎหมายสำหรับผู้ให้บริการรับตรวจเครน
- ตามกฎหมาย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร 2564 ข้อ 121 ผู้ให้บริการรับตรวจสอบเครน จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตนิติบุคคลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่หมดอายุ และมีหลักฐานใบอนุญาตอย่างครบถ้วน
- ตามกฎหมายกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร 2564 ข้อที่ 11 และ มาตราที่ 9 จะต้องได้รับใบอนุญาตนิติบุคคลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
- ผู้ให้บริการตรวจสอบเครนจะต้องออกใบ ปจ.1 รายการการตรวจสอบและทดสอบปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ และ ปจ.2 รายการการตรวจสอบและทดสอบปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ ให้กับผู้รับเหมาได้
กฎหมายสำหรับผู้รับเหมา
- ตามกฎหมายกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร 2564 ข้อ 57 นายจ้างหรือผู้รับเหมา จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบเครนอย่างสม่ำเสมอ ตามเงื่อนไขดังนี้
- ต้องตรวจปั้นจั่นทุกๆ 3 เดือน สำหรับปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้างน้ำหนักตั้งแต่ 3 ตันขึ้นไป และ 50 ตันขึ้นไปสำหรับปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่นๆ
- ต้องตรวจปั้นจั่นทุกๆ 6 เดือน สำหรับปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้างน้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน และ 3 – 50 ตันสำหรับปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่นๆ
- ต้องตรวจปั้นจั่นทุกๆ 12 เดือน สำหรับปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่นๆ น้ำหนักตั้งแต่ 1 – 3 ตัน
- ปั้นจั่นที่ไม่ได้ใช้งานมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป จะต้องได้รับการตรวจสอบเครนใหม่
ข้อเสียและสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่ตรวจสอบเครนอย่างสม่ำเสมอ
- อาจจะก่อให้เกิดอันตรายในสถานที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็น เครนชำรุด ของที่กำลังยกอยู่หล่นลงมา พื้นที่ปฏิบัติงานเสียหาย หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
- สูญเสียความน่าเชื่อถือในการทำงานด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากในการตรวจสอบเครนแต่ละครั้งจะมีการมอบใบ ปจ.1 และ ปจ.2 เพื่อยืนยันว่าตรวจแล้วครบถ้วนไร้ปัญหา หากผู้รับเหมาไม่มีใบนี้ ก็อาจจะไม่ได้รับการพิจารณาในการทำงานจากลูกค้า
- อาจโดนเอาผิดตามกฎหมาย เพราะตามกฎหมายข้อ 57 ระบุไว้ว่านายจ้างจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบเครนอย่างสม่ำเสมอตามเงื่อนไข หากไม่ทำตามอาจจะมีบทลงโทษภายหลัง
Update กฎหมายตรวจเครนใหม่ล่าสุด 2566
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบการทดสอบปั้นจั่น 9 ธันวาคม 2565
สำหรับผู้รับเหมาที่อาจจะกำลังสนใจเรื่องของการ ตรวจเครน และ กฎหมายข้อบังคับต่างๆ สามารถศึกษาได้ที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน